Abortion laws in Asia กฎหมายการทำแท้งในเอเซีย

in #ocd4 years ago
อีกหนึ่งประเด็นทางสังคมของไทยในตอนนี้ก็คือ กำลังมีการผลักดันในการยกเลิกกฎหมายในเรื่องของการทำแท้งมาตรา 301 เพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิทำแท้งได้ตามที่ต้องการ และจะช่วยให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงการแท้งที่ถูกกฎหมายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้หลายประเทศในฝั่งตะวันตกอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีการประท้วงกับกฎหมายการทำแท้งเช่นกัน เมื่อตอนที่จะมีการผ่านร่างจดหมายฉบับนี้ โดยเนื้อหาสำคัญของร่างกฎหมายก็คือจะมีการห้ามยุติการตั้งครรภ์ หากตรวจพบสัญญาณชีพของตัวอ่อนในครรภ์

Source: Photo from New Indian Express


การถกเถียงกันในสังคมที่เกี่ยวเรื่องการทำแท้งในสังคมไทยมีนานแล้วพอสมควร และต้องขอออกตัวว่าไม่ได้สนับสนุนเห็นด้วยหรือคัดค้านต่อต้านกับการยกเลิกกฎหมายการทำแท้ง เลยจะมาตรวจทุกคนไปลองดูว่าประเทศต่างๆ มีแนวทางเกี่ยวกับเรื่องการทำแท้งอย่างไรบ้าง


ประเทศไทย – ตามกฎหมายว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์ มาตรา 301 -305 โดยเฉพาะมาตรา 305 ผู้หญิงสมารถยุติการตั้งครรภ์ได้หากการตั้งครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย การตั้งครรภ์มีความผิดปกติ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน การถูกบังคับทำอนาจาร แต่ประเด็นที่กำลังต้องการแก้กฎหมายก็คือในมาตรา 301 ที่ผู้หญิงควรจะมีสิทธิตัดสินใจในการทำแท้ง เพราะเป็นเนื้อตัวในร่างกายของเธอเอง

กัมพูชา – สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ในทุกกรณี การเป็นการทำแท้งแบบเสรี หากการตั้งครรภ์ไม่มากกว่า 12 สัปดาห์ หากอายุเกิน 12 สัปดาห์ต้องได้รับการยืนยันจากแพทย์จำนวน 2 ท่าน หรือมีผลพิสูจน์ออกมาว่าการตั้งครรภ์นั้นเป็นการตั้งครรภ์จากการถูกขมขื่น หรือตัวอ่อนในครรภ์อาจจะพิการ

อินโดนีเซีย – อนุญาตให้มีการยุติการตั้งครรภ์ได้หากการตั้งครรภ์จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์เสียชีวิต และตัวอ่อนในครรภ์พิการ หรือตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน นอกเหนือจากเหตุผลนี้ถือว่าเป็นการผิดกฎหมายแม้จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ตั้งครรภ์ก็ตาม

ลาว – มีกฎหมายอนุญาตยุติการตั้งครรภ์ใน 2 กรณีคือ เพื่อรักษาชีวิตของผู้ตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายของผู้ตั้งครรภ์ นอกเหนือจากนี้ไม่ว่าการยุติการตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืนผิดกฎหมาย และไม่มีการทำแท้งเสรี

มาเลเซีย – สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เพื่อรักษาชีวิตของผู้ตั้งครรภ์และเพื่อสุขภาพกายและใจของผู้ตั้งครรภ์ ในกรณีอื่นเช่น การถูกข่มขืน ตัวอ่อนพิการ ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ และไม่มีการทำแท้งเสรี

ฟิลิปปินส์ – มีกฎหมายค่อนข้างรุนแรงและเข้มงวด โดยอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ถ้าการตั้งครรภ์ส่งผลอันตรายต่อชีวิตของผู้ตั้งครรภ์ ในกรณีอื่นๆ ที่เป็นเป็นการยุติการตั้งครรภ์ถือว่าเป็นอาชญากรรม

เวียดนาม – สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างเสรีในทุกกรณี

สิงค์โปร์ – สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างเสรี ถ้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์

เกาหลีใต้เละไต้หวัน – มีกฎหมายที่เหมือนกันคือสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ถ้าส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ตั้งครรภ์ หรือมีการตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน สำหรับการยุติการตั้งครรภ์ด้วยเหตุผลอื่นถือว่าเป็นความผิด

จีน – สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างเสรีและทำได้ในทุกกรณี ยกเว้นการยุติการตั้งครรภ์เพื่อเลือกเพศของบุตร

ญี่ปุ่น – ยุติการตั้งครรภ์ได้เพื่อรักษาชีวิตของผู้ตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์เกิดจากการถูกข่มขืน หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจก็สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้


เรื่องนี้เป็นเรื่องความคิดเห็นของสังคมในแต่ละประเทศ ไม่สามารถจะบอกได้ว่าประเทศไหนดีหรือไม่ดี

Sort:  

Abortion has always been a controversial subject. While many people believe that it is a woman’s right to choose whether or not she elects to have an abortion, others have religious, political, emotional, and personal morals that lead them to believe that having an abortion is wrong. It all comes down to a variety of upbringings, ethics, religious backgrounds, political alignments, and other attributes that play into forming opinions.